Menu Close

โครงสร้างพื้นฐานของยางรถยนต์

โครงสร้างพื้นฐานของยางรถยนต์สามารถจำแนกส่วนประกอบออกได้เป็น 6 ส่วน ดังนี้

1. หน้ายาง (Tread)

2. ไหล่ยาง (Shoulder)

3. แก้มยาง (Sidewall)

4. โครงยาง (Carcass)

5. ผ้าใบเสริมหน้ายางหรือเข็มขัดรัดหน้ายาง (Breaker or Belt)

6. ขอบยาง (Bead)

*** ส่วนประกอบแต่ละส่วนถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับหน้าที่และประสิทธิภาพในการใช้งาน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1. หน้ายาง (Tread) คือ ส่วนประกอบที่อยู่นอกสุดของยาง และ เป็นส่วนเดียวที่สัมผัสผิวถนน ทำหน้าที่ ป้องกันของมีคม ที่จะทำอันตราย ต่อโครงยาง ที่หน้ายางจะประกอบไปด้วย ดอกยาง และ ร่องยาง เพื่อทำหน้าที่ใน การยึดเกาะถนน มีแรงกรุยเวลาวิ่ง เบรคหยุดได้มั่นใจ ในปัจจุบัน ดอกยางมีอยู่หลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมี ประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไปดังนั้น ผู้ใช้จึงควรเลือกชนิดของดอกยาง ให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งาน.

2. ไหล่ยาง (Shoulder) เป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างหน้ายางกับแก้มยาง มีความหนาพอๆ กับหน้ายาง ปกติไหล่ยาง จะถูกออกแบบเป็นร่องให้เหมาะสม เพื่อช่วยระบายความร้อนภายในยางให้ออกมาได้ง่าย.

3. แก้มยาง (Sidewall) เป็นส่วนด้านข้างสุดของยาง ที่ไม่ได้สัมผัสพื้นผิวถนนขณะที่รถวิ่งอยู่และเป็นส่วนที่ยืดหยุ่นมากที่สุดของยางในขณะใช้งาน.

4. โครงยาง (Carcass) เป็นส่วนประกอบหลักของยาง ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่คงรูปร่าง และจะรักษาความดันลมภายในยาง เพื่อให้ยางสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ รวมทั้งต้องทนทานต่อแรงกระแทก หรือสั่นสะเทือนจากถนนที่มีต่อสภาพยางได้ดี ผ้าใบเสริมหน้ายาง หรือเข็มขัดรัดหน้ายาง (Breaker or Belt) เป็นชั้นที่อยู่ระหว่างหน้ายาง (Tread) กับโครงยาง (Carcass) ในกรณียางธรรมดา (Bias Tire) เราเรียกว่า “ผ้าใบเสริมหน้ายาง (Breaker)” และในกรณียางเรเดียล (RadialTire) จะเรียกว่า “เข็มขัดรัดหน้ายาง (Belt)” ซึ่งทำหน้าที่เพิ่มความแข็งแรง ให้กับหน้ายาง ให้ยางสามารถรับแรงกระแทกได้ดี และป้องกันไม่ให้โครงยางชำรุดเสียหายจากสิ่งอันตรายต่างๆ จากพื้นถนน.

5. ขอบยาง (Bead) ประกอบด้วยกลุ่มของเส้นลวดเหล็กกล้า (High Carbon Steel) ที่ช่วยยึดส่วนปลายทั้ง 2 ข้างของโครงยางเอาไว้ เพื่อให้บริเวณขอบยาง (Bead) มีความแข็งแรง สามารถยึดแน่นสนิทกับกระทะล้อได้ดีเมื่อนำไปใช้งาน สำหรับยางรถยนต์ที่ไม่ใช้ยางใน (Tubeless Tire) ขอบยางเป็นส่วนที่สำคัญอย่างยิ่ง ที่จะต้องทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ลมยางรั่วซึมออกมา นอกจากนี้ ยังมียางรถยนต์ยังมีส่วนประกอบย่อยอื่นๆ เช่น ผ้าใบหุ้มขดลวดและยางแข็งๆ ที่มีลักษณะคล้ายสามเหลี่ยม (Bead Filer) ทำหน้าที่เชื่อมต่อ ระหว่างส่วนที่แข็ง คือบริเวณขอบยาง ไปสู่ส่วนที่อ่อนและยืดหยุ่น คือบริเวณแก้มยาง และยังมีผ้าใบหุ้มขอบลวดที่อยู่ด้านนอกสุดของขอบยาง เพื่อป้องกันการเกิดอันตรายกับโครงยาง จากการถอดประกอบเข้ากับกระทะล้อในแต่ละครั้ง.

ดอกยางรถยนต์ ที่ดี

การเลือกใช้ลักษณะดอกยางให้ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาพการใช้งานนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับประโยชน์จาก การใช้งานอย่างเต็มที่ และตอบสนองลักษณะการขับขี่ที่แตกต่างกันด้วยลายดอกยาง จึงได้มีการคิดค้นและพัฒนามาโดยตลอดจน ปัจจุบันมีลายดอกยางมากมายนับไม่ถ้วน อย่างไรก็ดีหากแบ่งลายดอกยางโดยคำนึงถึงทิศทางการเคลื่อนที่
สามารถแบ่งได้ใน 2 ลักษณะ คือ

ดอกยางรถยนต์
ดอกยางรถยนต์

1) ดอกยางแบบ 2 ทิศทาง เป็นลักษณะของลายดอกยางที่จะสามารถสลับยางได้ในทุกตำแหน่งล้อของรถ ลักษณะดอกยางทั้ง 2 ด้าน จะสวนทิศทางกันหาก เป็นการขับขี่ทั่วไปไม่เน้นความเร็วสูง ดอกยางลักษณะนี้สามารถตอบสนองความต้องการได้อย่างดีเยี่ยม.

2) ดอกยางทิศทางแบบทิศทางเดียว (Uni-Direction) ลายของดอกยางจะถูกบังคับให้หมุนไปในทิศทางเดียวเท่านั้น โดยมีลูกศรบอกทิศทางการหมุนอยู่ที่แก้มยางทั้ง 2 ด้าน ดังนั้น การสลับยางจะสลับได้เพียงด้านเดียวเท่านั้น เช่น สลับด้านหน้าขวากับหลังขวา หรือด้านหน้าซ้ายกับหลังซ้ายเว้นแต่จะถอดตัว ยางออกจากกระทะล้อเดิมไปใส่กับกระทะล้อฝั่งตรงกันข้าม แต่ต้องจัดวางทิศทางการหมุนของดอกยางให้ถูกต้องเช่นเดิม มิเช่นนั้น แล้วจะทำให้ทิศทางการหมุนของยางเปลี่ยนกลับทิศทางทำให้ประสิทธิภาพของยางลดลง จุดเด่นของดอกยางแบบทิศทางเดียว คือ สามารถไล่น้ำออกจากหน้ายางได้รวดเร็วกว่าแบบ 2 ทิศทาง ป้องกันอาการเหินน้ำ (Hydroplaning) ซึ่งจะทำให้ควบคุมบังคับรถ ได้ลำบาก และ เกิดการลื่นไถลได้ง่าย.

หน้าที่ของ ดอกยางกับร่องยาง ที่ดี

ยางรถยนต์โดยทั่วไป จะมีทั้งดอกยางและร่องยาง ( ยกเว้น.. ยางรถแข่งบางประเภท ที่ใช้วิ่งบนถนนเรียบและแห้งซึ่งยางที่ใช้ จะมีลักษณะหน้ายางเรียบ ไม่มีดอกยางและร่องยาง การที่ยางรถยนต์ต้องมี ทั้งดอกยางและร่องยาง ก็เพราะดอกยาง ) เป็นส่วนหนึ่ง ของหน้ายางที่สัมผัสกับพื้นถนน มีหน้าที่หลักในการยึดเกาะถนน .ร่องยาง ) หรือ ร่องที่อยู่ระหว่างดอกยางนั้น ไม่ได้สัมผัสกับพื้นถนน จึงไม่ได้ทำหน้าที่ในการยึดเกาะถนน แต่ทำหน้าที่รีดน้ำออกจากหน้ายาง เพื่อช่วยให้ดอกยางสัมผัสกับพื้นถนน เมื่อต้องขับขี่บนถนนเปียก.
กล่าวโดยสรุปก็คือ ยางที่ไม่มีทั้งดอกยางและร่องยาง จะเกาะถนนได้ดีเฉพาะบนถนนที่เรียบและแห้งเท่านั้น แต่ถ้าเป็นสภาพถนนเปียกจะลื่นมาก เพราะหน้ายางที่ไม่มีดอกยาง และร่องยางจะไม่สามารถรีดน้ำออกจากหน้ายางได้อย่างรวดเร็ว น้ำจะกลายเป็นชั้นฟิล์มคั่นอยู่ระหว่าง ยางกับผิวถนน ทำให้เกิดการเหินน้ำได้ เนื่องจากหน้ายางสัมผัสพื้นไม่เต็มที่ หรือไม่สัมผัสพื้นเลย ทำให้เกิดการลื่นไถลได้ ดังนั้น ในสภาพการขับขี่ในชีวิตประจำวัน บนถนนปกติทั่วไปแล้ว ยางรถยนต์จึงจำเป็นต้องมีทั้ง ดอกยาง และร่องยาง อยู่เสมอ.

แก้มยาง

ยางรถยนต์ มีส่วนของโครงยางเพื่อรักษารูปทรงของยาง และเสริมความแข็งแรงในการรับน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุก มีหน้ายางที่สัมผัสผิวถนน มีขอบยางเพื่อประกอบเข้ากับ ขอบกระทะล้อ และมีส่วนอื่นๆ ประกอบกันเป็นยางรถยนต์ ทุกส่วน ล้วนทำหน้าที่ และ มีความสำคัญไม่แพ้กัน และส่วนหนึ่งของยางรถยนต์ ที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ก็คือ แก้มยาง. แก้มยางเป็นส่วนของยางที่มีความบางมากกว่าส่วนอื่นๆ เพื่อประโยชน์ในการดูดซับการสั่นสะเทือนจากพื้นถนนขณะขับขี่ จึงควรดูแลรักษาและใช้งานด้วยความระมัดระวัง เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของยาง.ความเสียหายที่เกิดกับแก้มยาง มักเกิดจาก การนำแก้มยางไปเบียดกับขอบถนน จากการเข้าจอดเลียบทางเท้า หรือที่ที่มีขอบทางสูง หรือการจอดรถโดยเบียดแก้มยางทิ้งไว้ซึ่งจะทำให้แก้มยางบวมหรือรั่วได้ และไม่สามารถซ่อมแซมให้ใกล้เคียงปกติเหมือนการรั่ว หรือถูกตำที่หน้ายาง ดังนั้นเมื่อเข้าใกล้ขอบทาง ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง ใช้ความเร็วต่ำ และจอดรถไม่ให้เบียดขอบทาง เพื่อให้ยางมีอายุการใช้งานยาวนาน .

อายุการใช้งานของยางรถยนต์

โดยปกติอายุของยางนั้นจะเริ่มนับตั้งแต่ถูกนำไปใช้งาน คือ หลังจากที่ยางประกอบเข้ากับกระทะล้อ และติดตั้งเข้ากับรถยนต์ แล้วนำไปวิ่งใช้งาน ซึ่งยางรถยนต์ทุกเส้นจะได้รับการรับประกันคุณภาพ จากบริษัทผู้ผลิตแต่ละรายโดยสามารถศึกษารายละเอียด และเงื่อนไขได้จากคู่มือการรับประกันคุณภาพ.
อายุของยางรถยนต์ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณเป็นสำคัญ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ยาวนานและปลอดภัย มีข้อแนะนำในการบำรุง รักษายางที่ถูกต้องดังต่อไปนี้
– ตรวจเช็คลมยางอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยเติมลมยางตามมาตรฐาน ที่ระบุในคู่มือรถยนต์.
– บรรทุกน้ำหนักให้เหมาะสม ไม่มากเกินอัตราที่กำหนด เพื่อป้องกันการบวมล่อน และระเบิดของโครงยาง.
– ทำการสลับยางและตรวจเช็คศูนย์ล้อ ทุก ๆ ระยะทาง 10,000 กม. หรือตามคำแนะนำ ของผู้ผลิตรถยนต์.
– ขับขี่อย่างระมัดระวังบนถนนขรุขระ และหลีกเลี่ยงสิ่งมีคมต่าง ๆ รวมทั้งน้ำมันหรือสารเคมี.
ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยและช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานจึงควรเพิ่มการดูแลเอาใจใส่ยางรถยนต์มากยิ่งขึ้น และเลือกใช้ยาง ให้ถูกต้องเหมาะสมด้

 ยางหล่อดอกคืออะไร

การเลือกใช้ยางหล่อดอกเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สำคัญที่สามารถช่วยลดต้นทุนได้มาก โดยปกติแล้วต้นทุนของยางหล่อดอกจะต่ำกว่า ยางใหม่ 30% ถึง 50% โดยที่สมรรถนะในการขับขี่, ความเร็ว, ความนุ่มนวล และความปลอดภัยเทียบเท่ากับยางใหม่ซึ่งปัจจุบัน ดอกยาง โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

1. การหล่อดอกแบบร้อน

ด้วยเทคโนโลยีการหล่อแบบอบด้วยความร้อน จะทำให้ส่วนประกอบของยางใหม่และยางเก่าสามารถผสานเป็นเนื้อเดียวกันได้อย่าง สมบูรณ์แบบหมดปัญหาการบวมหลุดล่อน

2. การหล่อดอกแบบเย็น

ประสิทธิภาพการใช้งานของยางหล่อดอก ด้วยเทคโนโลยีการหล่อเย็น โดยใช้เครื่องขูดยางเพื่อเจียรผิวหน้ายางให้เรียบเสมอกัน ด้วยระบบน้ำหล่อเย็นที่ทันสมัยช่วยรักษาผิวยาง ไม่ให้ไหม้จากการขูด ทำการแต่งซ่อมแผลหน้ายางที่ชำรุดโครงยางจะได้รับการพ่น กาวยางน้ำ (Cement) เพื่อให้ลายดอกยางประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งขั้นตอนการอบยางด้วยหม้ออบขนาดใหญ่ที่อุณหภูมิ 80-100 องศาเซลเซียส ทำให้ลายดอกและเนื้อยางประสานกับโครงยางเก่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติของยางที่จะนำมาหล่อดอกใหม่

– ควรมีความลึกของดอกยางคงเหลือประมาณ 3 มม.
– โครงยางไม่มีบาดแผลใดๆ

ยางเรเดียลเส้นลวดกับยางผ้าใบธรรมดา แตกต่างกันอย่างไร

ยางเรเดียลเส้นลวด ยางผ้าใบธรรมดามาก โครงสร้างยางเป็นเส้นลวดเหล็กกล้า 1 ชั้น วางทำมุม90 องศากับเส้นรอบวงยาง หรือเส้นลวดแต่ละเส้นแผ่ กระจายเป็นแนวรัศมีออกจาก ศูนย์กลางโดยรอบ และมีชั้นของเข็มขัดรัดหน้ายาง ( BELT)

ยางเรเดียลเส้นลวด
ยางเรเดียลเส้นลวด

 

ซึ่งเป็นเส้นลวดเหล็กกล้า4 ชั้น คาดยึดโครงยางไว้ โครงสร้างยางประกอบด้วย ผ้าใบ หลายๆ ชั้น ซึ่งผ้าใบแต่ละชั้น จะวางสลับกัน ตัดกันเป็นมุม 40-65 องศา กับเส้นรอบวงยาง และมีชั้นของผ้าใบเสริมหน้ายาง (BREAKER) 1-2 ชั้น คาดยึด โครงยางไว้

เสียงในการขับขี่ ที่ดี

เสียงรบกวนขณะใช้งานนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากการบิดตัวของหน้ายาง การบิดตัวที่น้อยกว่าทำให้ยางเรเดียลเส้นลวดมีเสียงรบกวนน้อย กว่ายางผ้าใบธรรมดาถึง 3 เดซิเบล (dBA) ความดังของเสียงที่ลดลงเปรียบเทียบ ได้กับเสียงที่เกิดจากรถบรรทุกที่แล่นพร้อมกัน 2 คัน เสียงจะลดลงใกล้เคียงกับรถบรรทุกที่แล่น 1 คัน เสียงรบกวนขณะใช้งานนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากการบิดตัวของหน้ายาง การบิดตัวที่น้อยกว่าทำให้ยางเรเดียลเส้นลวดมีเสียงรบกวนน้อย กว่ายางผ้าใบธรรมดาถึง 3 เดซิเบล (dBA) ความดังของเสียงที่ลดลงเปรียบเทียบ ได้กับเสียงที่เกิดจากรถบรรทุกที่แล่นพร้อมกัน 2 คัน เสียงจะลดลงใกล้เคียงกับรถบรรทุกที่แล่น 1 คัน

อายุการใช้งานของยางเรเดียลที่ดีที่สุด

ยางเรเดียลเส้นลวดมีความต้านทานต่อการสึกหรอสูงกว่า ยางผ้าใบธรรมดา เนื่องจากหน้ายางที่แกร่งกว่าการบิดตัวของหน้ายางน้อยกว่าความร้อนจึงเกิดขึ้นได้น้อยกว่า และหน้ายางที่สัมผัสผิวถนน ได้มากกว่า ช่วยลดปัญหาการบวมล่อนของยาง มีผลทำให้อายุการใช้งานของยางเรเดียลเส้นลวดยาวนานกว่ายางผ้าใบธรรมดา 1.5 – 2 เท่า ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับต้นทุนต่อระยะ ทางที่ใช้งาน และให้ความปลอดภัยในการใช้งานได้มากยิ่งขึ้น

เปรียบเทียบระยะยางที่วิ่งได้คุ้มราคา

เปรียบเทียบระยะยางที่วิ่งได้คุ้มราคา
เปรียบเทียบระยะยางที่วิ่งได้คุ้มราคา

ประสิทธิภาพความทนทาน

ประสิทธิภาพความทนทาน
ประสิทธิภาพความทนทาน

ข้อควรรู้ของอายุการใช้งานของยางรถยนต์

 

โดยปกติอายุของยางนั้นจะเริ่มนับตั้งแต่ถูกนำไปใช้งาน คือ หลังจากที่ยางประกอบเข้ากับกระทะล้อ และติดตั้งเข้ากับรถยนต์ แล้วนำไปวิ่งใช้งาน ซึ่งยางรถยนต์ทุกเส้นจะได้รับการรับประกันคุณภาพ จากบริษัทผู้ผลิตแต่ละรายโดยสามารถศึกษารายละเอียด และเงื่อนไขได้จากคู่มือการรับประกันคุณภาพ.

อายุของยางรถยนต์ ขึ้นอยู่กับการใช้งานของคุณเป็นสำคัญ เพื่อให้สามารถใช้งานได้ยาวนานและปลอดภัย มีข้อแนะนำในการบำรุง รักษายางที่ถูกต้องดังต่อไปนี้

– ตรวจเช็คลมยางอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยเติมลมยางตามมาตรฐาน ที่ระบุในคู่มือรถยนต์.

– บรรทุกน้ำหนักให้เหมาะสม ไม่มากเกินอัตราที่กำหนด เพื่อป้องกันการบวมล่อน และระเบิดของโครงยาง.

– ทำการสลับยางและตรวจเช็คศูนย์ล้อ ทุก ๆ ระยะทาง 10,000 กม. หรือตามคำแนะนำ ของผู้ผลิตรถยนต์.

– ขับขี่อย่างระมัดระวังบนถนนขรุขระ และหลีกเลี่ยงสิ่งมีคมต่าง ๆ รวมทั้งน้ำมันหรือสารเคมี.

ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยและช่วยยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานจึงควรเพิ่มการดูแลเอาใจใส่ยางรถยนต์มากยิ่งขึ้น และเลือกใช้ยาง ให้ถูกต้องเหมาะสมด้วย .

คุณรู้หรือไม่ จุดสีเหลืองและจุดสีแดงบนแก้มยางมีความหมายอย่างไร
โดยทั่วไปยางรถยนต์จะมีตัวเลขและตัวอักษรต่างๆ บนแก้มทั้ง 2 ด้าน ซึ่งจะบ่งบอกถึงขนาดและคุณสมบัติของยาง และนอกจาก นี้ยังมีจุดสีเหลืองและสีแดงปรากฎอยู่บนแก้มยางอีกด้วย ซึ่งจุดสีดังกล่าวนี้จะมีอยู่เพียงด้านเดียวบนแก้มยาง แต่ในบางรุ่นหรือ บางขนาดจะมีทั้งจุดสีเหลืองและจุดสีแดงบนยางเส้นเดียวกัน ซึ่งจุดสีเหลืองและสีแดงนั้นมีความหมายดังนี้

จุดสีเหลือง คือ บริเวณที่ยางมีน้ำหนักเบา เมื่อเทียบกับบริเวณอื่น เมื่อนำยางมาประกอบกับกระทะล้อ ควรให้วาล์วเติมลมตรง กับจุดสีเหลืองนี้ เพื่อช่วยให้น้ำหนักของยางสมดุลดีกว่าเดิม ซึ่งจะช่วยให้การถ่วงล้อทำได้ง่ายยิ่งขึ้น.
จุดสีแดง คือ บริเวณที่หน้ายางมีค่าความโค้งตามแนวรัศมีมากกว่าบริเวณอื่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยางที่ส่งให้กับโรงงานประกอบรถยนต์ ที่ใช้ประโยชน์จากจุดแดงนี้ เนื่องจากกระทะล้อ ที่ส่งมาเพื่อประกอบกับยาง จะมีจุดที่แสดงค่าความโค้งที่ ขอบกระทะล้อด้วยเช่นกัน เมื่อประกอบให้จุดทั้ง 2 ตรงกัน จะช่วยให้ยางเส้นนั้น มีความกลมตามแนวรัศมี ดียิ่งขึ้น.
ทั้งนี้ ในการติดตั้งยางเข้ากับตัวรถ จุดสีเหลืองและจุดแดงจะอยู่ด้านนอกหรือด้านใน ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ ทิศทางการหมุนของดอกยางเป็นสำคัญ ซึ่งจะมีทั้งแบบดอกยางธรรมดา และ ดอกยางแบบทิศทางเดียว.

แก้มยาง ที่ดี

ยางรถยนต์ มีส่วนของโครงยางเพื่อรักษารูปทรงของยาง และเสริมความแข็งแรงในการรับน้ำหนักรถและน้ำหนักบรรทุก มีหน้ายางที่สัมผัสผิวถนน มีขอบยางเพื่อประกอบเข้ากับ ขอบกระทะล้อ และมีส่วนอื่นๆ ประกอบกันเป็นยางรถยนต์ ทุกส่วน ล้วนทำหน้าที่ และ มีความสำคัญไม่แพ้กัน และส่วนหนึ่งของยางรถยนต์ ที่จะกล่าวถึงในตอนนี้ก็คือ แก้มยาง.

แก้มยางเป็นส่วนของยางที่มีความบางมากกว่าส่วนอื่นๆ เพื่อประโยชน์ในการดูดซับการสั่นสะเทือนจากพื้นถนนขณะขับขี่ จึงควรดูแลรักษาและใช้งานด้วยความระมัดระวัง เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งานของยาง.

ความเสียหายที่เกิดกับแก้มยาง มักเกิดจาก การนำแก้มยางไปเบียดกับขอบถนน จากการเข้าจอดเลียบทางเท้า หรือที่ที่มีขอบทางสูง หรือการจอดรถโดยเบียดแก้มยางทิ้งไว้ซึ่งจะทำให้แก้มยางบวมหรือรั่วได้ และไม่สามารถซ่อมแซมให้ใกล้เคียงปกติเหมือนการรั่ว หรือถูกตำที่หน้ายาง ดังนั้นเมื่อเข้าใกล้ขอบทาง ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง ใช้ความเร็วต่ำ และจอดรถไม่ให้เบียดขอบทาง เพื่อให้ยางมีอายุการใช้งานยาวนาน .

หน้าที่ของ ดอกยางกับร่องยางที่ควรใช้งาน

ยางรถยนต์โดยทั่วไป จะมีทั้งดอกยางและร่องยาง ( ยกเว้น.. ยางรถแข่งบางประเภท ที่ใช้วิ่งบนถนนเรียบและแห้งซึ่งยางที่ใช้ จะมีลักษณะหน้ายางเรียบ ไม่มีดอกยางและร่องยาง ) การที่ยางรถยนต์ต้องมี ทั้งดอกยางและร่องยาง ก็เพราะ

ดอกยาง ) เป็นส่วนหนึ่ง ของหน้ายางที่สัมผัสกับพื้นถนน มีหน้าที่หลักในการยึดเกาะถนน .

ร่องยาง ) หรือ ร่องที่อยู่ระหว่างดอกยางนั้น ไม่ได้สัมผัสกับพื้นถนน จึงไม่ได้ทำหน้าที่ในการยึดเกาะถนน แต่ทำหน้าที่รีดน้ำออกจากหน้ายาง เพื่อช่วยให้ดอกยางสัมผัสกับพื้นถนน เมื่อต้องขับขี่บนถนนเปียก.

กล่าวโดยสรุปก็คือ ยางที่ไม่มีทั้งดอกยางและร่องยาง จะเกาะถนนได้ดีเฉพาะบนถนนที่เรียบและแห้งเท่านั้น แต่ถ้าเป็นสภาพถนนเปียกจะลื่นมาก เพราะหน้ายางที่ไม่มีดอกยาง และร่องยางจะไม่สามารถรีดน้ำออกจากหน้ายางได้อย่างรวดเร็ว น้ำจะกลายเป็นชั้นฟิล์มคั่นอยู่ระหว่าง ยางกับผิวถนน ทำให้เกิดการเหินน้ำได้ เนื่องจากหน้ายางสัมผัสพื้นไม่เต็มที่ หรือไม่สัมผัสพื้นเลย ทำให้เกิดการลื่นไถลได้ ดังนั้น ในสภาพการขับขี่ในชีวิตประจำวัน บนถนนปกติทั่วไปแล้ว ยางรถยนต์จึงจำเป็นต้องมีทั้ง ดอกยาง และร่องยาง อยู่เสมอ.